Siambeetle forum

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ดู: 3422|ตอบ: 0

เปิดบันทึกหนึ่งในประวัติศาสตร์พัฒนาการการเพาะด้วง ตอนที่ 2 เข้าสำรวจหาแหล่งที่มา [คัดลอกลิงก์]

Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25

เวลาออนไลน์
1477 ชั่วโมง
UID
1
เครดิต
8072
ความเทพ
766
ประสบการณ์
4261
ทองคำ
201
โพสต์
1877
กระทู้
197
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-1-16
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2017-1-28
โพสต์เมื่อ 2016-4-22 09:03:51 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

ข้อมูลหลักที่ได้รวบรวมมาได้จำนวนหนึ่งนั้นต้องบอกเลยว่าเป็นช่วงการทำการบ้านที่เยอะและใช้เวลานานกว่าจะหาคำตอบแต่ละคำถามได้
"
-ทำไมต้องใส่ท่อนไม้เพื่อให้ด้วงคีมวางไข่ในตู้เลี้ยง
-ทำไมต้องใช้ดินสีดำๆในตู้เลี้ยงด้วงกว่าง มันคือดินปลูกต้นไม้ใช่หรือไม่
"

ผมได้ตั้งสมมุติฐานแรกขึ้นมาซึ่งก็ยังพยายามใช้มาจนถึงทุกวันนี้ว่า "เมืองไทยมีด้วงที่เป็นที่นิยมในการเพาะเลี้ยงหลายชนิด ดังนั้นแปลว่าต้องมีวัตถุดิบชั้นเลิศสำหรับเลี้ยงด้วงพวกนี้ในบ้านเราอย่างแน่นอน" ซึ่งสมมุติฐานนี้เองที่เป็นตัวแปรหลักในการเดินหน้าค้นคว้าของผม
อันดับแรกสุดถ้าเราจะเลี้ยงด้วงให้ได้ ผมต้องหาต้นไม้ที่ด้วงอาศัยอยู่และกินเป็นอาหารให้ได้ก่อน
ช่วงเวลานี้คือการสำรวจธรรมชาติเพื่อหาต้นตอที่เป็นคำตอบของการกำเนิดสิ่งมีชีวิตเล็กๆอย่างด้วงนั่นเอง

ผมมีพื้นที่ 2 จุดที่เป็นแหล่งสำรวจในช่วงแรก สาเหตุหลักเพราะผมต้องทำงานทุกวันที่เชียงใหม่ เวลาในการสำรวจนั้นมีเพียงแค่เย็นวันนั้นลากยาวไปเช้าอีกวันเท่านั้นเอง แห่งแรกคือขุนลาว ในเขตอ.เวียงป่าเป้า โดยเดินเท้าเข้าป่ากับคนพื้นที่เพื่อไปดูจุดที่จะหาด้วงและหาตัวหนอน
แห่งที่สองคือพื้นที่ในเขตอ.โป่งแยงใกล้ๆที่ทำงานนั่นเอง ซึ่งทำให้เราทราบว่าต้นไม้ที่คนในพื้นที่ชอบไปหาด้วงนั้นคือต้นก่อและต้นทะโล้ ในเขตเวียงป่าเป้าจะสามารถพบต้นไม้ได้ทั้งสองชนิด แต่ทว่าในเขตโป่งแยงนั้นส่วนมากจะพบเพียงต้นทะโล้เท่านั้น.....มันเป็นตัวบ่งบอกการกระจายตัวของต้นไม้ได้เป็นอย่างดี และอีกสาเหตุอาจจะเป็นเพราะพื้นที่โป่งแยงนั้นกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าพื้นที่ป่าไปแล้ว

ต้นก่อเป็นไม้เนื้อแข็ง แต่ว่าหลังจากถูกเชื้อรากิน ไม้จะผุและนิ่มขึ้น จนบางต้นสามารถใช้มือหักเนื้อไม้ออกมาเป็นชิ้นๆได้เลย บางคนรู้จักในชื่อต้นเกาลัด ซึ่งเป็นไม้ที่ใกล้เคียงกัน
ต้นทะโล้เป็นไม้เนื้อแข็งเช่นกัน มีขนคันจำนวนมากรอบลำต้น เป็นหนึ่งในต้นไม้ที่ชาวบ้านไม่ค่อยอยากจะฟันหาด้วงเท่าไรนัก หลังจากถูกเชื้อรากินก็จะแปรสภาพเป็นเนื้อไม้เช่นเดียวกับไม้ก่อ คือนิ่มจนใช้มือหรือมีดแข็งๆสับเละได้ และมีสีขาวเหลือง เพราะถูกเชื้อราเห็ดเดินอาศัยกินอยู่ในต้นไม้จนเนื้อไม้แปรสภาพมีความพรุนและผุลงในที่สุด

ในการสำรวจต้นไม้นี้เราสำรวจเฉพาะต้นไม้ที่ล้มเพราะการผุพังเท่านั้น สำหรับต้นไม้ที่ยังมีใบและสดอยู่นั้นเราจะทำการข้ามไปเพื่อไม่ให้ไปรบกวนต่อระบบนิเวศน์มากนัก

แทบจะ 80-90% ของด้วงกลุ่มที่เรานิยมเลี้ยงที่พบในต้นไม้เป็นด้วงคีม เป็นจุดที่ทำให้เราไขคำตอบที่ว่าทำไมการเลี้ยงด้วงคีมถึงต้องใส่ท่อนไม้ลงไปในตู้เพาะเลี้ยงได้ บางต้นจะพบหนอนเดินกินเป็นทางอยู่ในท่อนไม้ และบางครั้งก็จะพบโพรงที่ด้วงนอนพักตัวหลังการลอกคราบจากดักแด้อีกด้วย
มีการพบหนอนด้วงกว่างประมาณ 10-20% ขึ้นมากัดกินในลำต้นไม้ที่ล้มผุเช่นเดียวกัน ส่วนมากจะพบเวลาด้านล่างของลำต้น ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะเดินทางทานอาหารอยู่บริเวณด้านล่างและอาจจะพลัดหลงกัดขึ้นมาในลำต้นไม้

การหาหนอนด้วงกว่างนั้นแทบจะ 70-80% จะพบบริเวณที่มีขี้เลื่อยหรือผงไม้และเศษใบไม้ทับถมกันเป็นชั้นหนา อีก20-30% พบใต้ดินที่เป็นชั้นดินผสมใบ้ไม้ สำหรับหนอนด้วงกว่างที่เราเข้าไปสำรวจนั้นคือหนอนด้วงกว่างห้าเขาเท่านั้นครับ
หนอนด้วงกว่างที่พบนี้จะทานขี้เลื่อยไม้ที่บริเวณด้านล่างนั้นที่เริ่มเปลี่ยนสีจากสีขาวเหลืองกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำแล้ว ถ้าขุดพบโพรงทางเดินของตัวหนอนจะเห็นว่ารอบทางเดินที่หนอนเดินผ่านมานั้นจะเป็นเมล็ดคล้ายเมล็ดถั่ว ซึ่งนั้นจริงๆแล้วคือมูลของตัวอ่อนที่อึทิ้งไว้ก่อนที่จะเดินทางไปข้างหน้าต่อ เป็นอีกหนึ่งจุดที่ทำให้เราไขคำตอบที่ว่าด้วงกว่างไม่จำเป็นต้องใช้ท่อนไม้ผุ ,ต้องบ่มวัสดุรองพื้นนั้นให้มีสีเข้มขึ้นก่อน และสีดำๆที่เห็นนั่นคือผงไม้ที่หมักหมมจนย่อยสลายกลายเป็นสีดำผสมกับเศษใบไม้ผุและดินนั่นเอง

การออกสำรวจธรรมชาติเป็นงานช่วงที่สนุกครับ เพราะนอกจากจะได้เจอสิ่งแปลกใหม่ที่คนในเมืองอย่างเราไม่เคยได้รู้จักแล้ว ยังได้รู้ว่าพื้นที่ป่าไม้นั้นมีคุณประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่จำนวนมากหรือการเป็นแหล่งหาอาหารให้กับคนในพื้นที่ และที่สำคัญทำให้อากาศเย็นสบายและสดชื่นเป็นอย่างมาก ผมสามารถเดินในป่าได้ทั้งวันแต่ผมเดินในกรุงเทพริมถนนทั้งวันไม่ได้ครับ ถ้าสามารถดูแลธรรมชาติให้คงสภาพไว้ได้อย่างสมบูรณ์ก็จะทำให้อากาศดีและไม่ร้อนอีกด้วย

จบตอนที่2


คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|Siambeetle

GMT+7, 2024-3-29 14:12 , Processed in 0.068935 second(s), 10 queries .

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน