Siambeetle forum

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ดู: 3659|ตอบ: 0

เลือกด้วงตัวโปรดเข้ามาดูแล ตอนที่2 [คัดลอกลิงก์]

Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25

เวลาออนไลน์
1477 ชั่วโมง
UID
1
เครดิต
8072
ความเทพ
766
ประสบการณ์
4261
ทองคำ
201
โพสต์
1877
กระทู้
197
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-1-16
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2017-1-28
โพสต์เมื่อ 2016-4-18 15:38:36 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

หลังจากเลือกแนวทางด้วงที่สนใจจะเลี้ยงได้แล้ว ก่อนที่จะเลือกซื้อด้วงนั้นมีเรื่องที่ต้องดูกันอีกสักนิดหน่อยเพื่อให้ได้ด้วงดีๆมาเลี้ยง

-ด้วงเพาะหรือด้วงป่า

เรื่องนี้เกี่ยวโยงกับการนับรุ่นของด้วงด้วย ซึ่งผมจะอธิบายให้เข้าใจในครั้งเดียวกันเลยครับ
เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญมากในการเพาะเลี้ยงด้วง นักเลี้ยงด้วงทุกคนต้องทำความเข้าใจให้มากๆครับ จริงๆแล้วมันเข้าใจไม่ยาก ลองอ่านแล้วคิดตามสักนิดนึงก็จะสามารถจดจำและเข้าใจได้เลย

เอาเรื่องด้วงที่จะซื้อเป็นด้วงเพาะหรือด้วงป่าก่อน
จุดต่างระหว่างสองแบบนี้คือ
+ด้วงเพาะจะรู้วันเกิด แต่ด้วงป่าไม่รู้วันเกิด
ทำให้ไม่ทราบอายุขัยของด้วง ถ้าทราบวันเกิดจะทำให้พอกะระยะเวลาพักตัวโดยประมาณและเริ่มเพาะเลี้ยงจากตัวเมียที่ยังสดใหม่ได้ ในขณะที่ด้วงที่จับมาจากป่านั้นบางตัวอาจจะเกิดมาแล้วหลายเดือนหรือตัวเมียบางตัวอาจจะวางไข่ไปบ้างแล้วก่อนที่จะถูกส่งเข้ามายังตลาดซื้อขายด้วง

+ด้วงเพาะสามารถพัฒนาสายพันธุ์ได้ แต่ด้วงป่าไม่สามารถทำได้
การพัฒนาสายพันธุ์ทำได้โดยการคัดเลือกด้วงตัวผู้และตัวเมียที่ยังไม่ได้รับการผสมพันธุ์มาจับคู่กัน ซึ่งอาจจะเป็นด้วงที่ความพิเศษทางร่างกายแบบต่างๆ ซึ่งทำไมตัวป่าทำไม่ได้ สาเหตุมาจากที่ว่าตัวเมียที่ถูกจับมาจากป่านั้นเราไม่สามารถทราบได้เลยว่าถูกผสมพันธุ์มาแล้วหรือยังนั่นเอง เพราะถ้าถูกผสมพันธุ์มาแล้ว การนำมาจับคู่ผสมพันธุ์อีกรอบนั้นเราจะไม่ทราบเลยว่าโอกาสที่จะได้รับเชื้อจากตัวผู้ที่คัดมาเป็นอัตราส่วนเท่าไรหรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้
การพัฒนาสายพันธุ์ที่พบ เช่น เขี้ยวใหญ่และหนาพิเศษ เขาอ้วนและหนาพิเศษ สีปีกหรือลวดลายพิเศษ

+ด้วงเพาะสายเลือดชิด แต่ด้วงป่าสายเลือดยังใหม่สดกว่า
เลือดชิดเกิดจากการผสมพันธุ์ในรุ่นลูกครอกเดียวกันเอง ส่งผลให้เกิดการอ่อนแอทางการเพาะเลี้ยง ซึ่งจะมีโอกาสเกิดได้น้อยในธรรมชาติ เนื่องจากด้วงในธรรมชาตินั้นมีโอกาสจะได้พบกับด้วงวัยเดียวกันจากรุ่นพ่อแม่อื่นในช่วงเวลาออกหาคู่ผสมพันธุ์ และอาหารในธรรมชาตินั้นสมบูรณ์มากกกว่าในการเพาะเลี้ยง เพราะด้วงขาดอาหารอะไรก็สามารถออกบินไปหาทานได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง รวมถึงสารอาหารต่างๆจากธรรมชาตินั้นมีความสดและสมบูรณ์มากกว่าอาหารสังเคราะห์ในการเพาะเลี้ยง

เรื่องต่อจากนี้ขอให้อ่านแล้วทำความเข้าใจไปด้วยนะครับ ใช้เวลาไม่นาน ถ้าเข้าใจแล้วมันจะจำติดตัวเราและใช้ได้ไปตลอดเลย

มีคำศัพท์สองคำที่อยากให้รู้จักก่อนที่จะไปทำความเข้าใจเรื่องรุ่นด้วง
In breed คือการขยายพันธุ์ด้วงจากรุ่นลูกที่มาจากครอบครัวเดียวกัน เช่น ลูกครอกA x ลูกครอกA
Out breed คือการขยายพันธุ์ด้วงรุ่นต่อไปจากด้วงที่มาจากคนละครอบครัวกัน ลูกครอกA x ลูกครอกB
การ Out breed ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า cross breed หรือการผสมพันธุ์ข้ามสายเลือดป้องกันเลือดชิด เราใช้ตัวอักษรย่อว่า CB การผสมพันธุ์ข้ามสายเลือดนี้ไม่ใช่การผสมพันธุ์ข้ามชนิดของด้วงนะครับ แต่เป็นการผสมพันธุ์จากด้วงชนิดเดียวกันแต่มาจากคนละครอบครัว

ทำความเข้าใจการนับรุ่นด้วง
การนับรุ่นด้วงมีตัวอักษรย่อที่ถูกใช้กันแบบสากลและเข้าใจกันในกลุ่มคนเลี้ยงด้วงไม่กี่ตัวครับ ซึ่งไม่เท่ากับวงการสัตว์อื่น ไม่มีการนับ backcross เพราะไม่มีการผสมข้ามสายพันธุ์

WD - ด้วงที่ถูกจับมาจากป่าจะถูกเรียกว่า Wild , wild caught
ถ้านำมาเพาะขยายพันธุ์ก็จะเกิดรุ่นลูกรุ่นต่อๆไปตามแผนภูมินี้

ผู้ WD x เมีย WD
|
-------------
| |
ผู้ WF1 x เมีย WF1
|
----------
| |
ผู้ F2 x เมีย F2
|
----------
| |
ผู้ F3 x เมีย F3
|
-----------
| |
ผู้ F4 x เมีย F4
|
------------
| |
ผู้ F5 x เมีย F5

WF1 - ลูกเพาะจากด้วงป่า นับเป็น F1 หรือรุ่นที่หนึ่งก็ได้ แต่เติมเป็น WF1 เพื่อให้ทราบว่าตัวนี้เป็นลูกชุดแรกจากด้วงป่า
F2 - ลูกเพาะจากด้วงรุ่น F1 หรือ WF1 ที่มาจากครอบครัวหรือสายเลือดเดียวกัน
F3 - ลูกเพาะจากด้วงรุ่น F2 ที่มาจากครอบครัวหรือสายเลือดเดียวกัน และ F3 F4 F5 F6 ไล่ไปเรื่อยๆก็คือลูกเพาะที่มาจากครอบครัวเดียวกันในรุ่นถัดๆไปนั่นเอง

การ Out breed ที่ทำให้เกิดการข้ามสายเลือดเพื่อป้องกันเลือดชิดและสร้างคสามแข็งแรงให้กลับมาอีกครั้ง มาจากหลายวิธี ลองดูตามแผนภูมิตัวอย่างต่อไปนี้
Ex1
WD1 x WD1 WD2 x WD2
| |
WF1 x WF1
|
CBF1

Ex2
F2 x F2 CB x CB
| |
F3 x F2
|
CBF1

Ex3
CB x F3 F2 x F2
| |
CBF1 x F3
|
CBF1

จริงๆแล้วยังมีการ Out breed อีกหลายรูปแบบครับ รายละเอียดรอติดตามต่อไปเรื่อยๆนะครับ หรือบางครั้งต้องลองเพาะเลี้ยงให้ได้เองหลายๆรุ่น ก็จะเริ่มทำความเข้าใจได้ไม่ยาก

การเลือกด้วงเพาะนั้นก็มีจุดที่ควรจะเช็คให้ดีๆอันดับแรกคือรุ่นที่ถูกเพาะออกมา เพราะถ้า F4 ขึ้นไป มีโอกาสที่จะมีความอ่อนแอทางสายเลือดมากขึ้นกว่ารุ่น F1 ถ้าซื้อมาก็ควรจะเตรียมด้วงอีกสักสายเลือดหนึ่งเพื่อนำมา Out breed กันสร้างความแข็งแรงทางสายเลือดอีกครั้ง
สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรทำถ้าซื้อด้วงมาสองครอบครัว เช่น
ได้ด้วงมาสองชุด ครอบครัวที่ 1 รุ่น F3 , ครอบครัวที่ 2 รุ่น F2 จับสองครอบครัวนี้มาสลับกัน เกิดแผนภูมินี้ขึ้นมา แล้วจับลูกสองครอบครัวนี้มาผสมกันอีกที

ผู้ F3ครอบครัวที่ 1 x เมีย F2ครอบครัวที่ 2 ได้ลูก CBF1 (F3xF2)

ผู้ F2ครอบครัวที่2 x เมีย F3ครอบครัวที่1 ได้ลูก CBF1 (F2xF3)

จับผู้ CBF1 (F3xF2) x เมีย CBF1 (F2xF3) ได้ลูกอาจจะนับเป็น F2 แต่มีโอกาสมีความอ่อนแอทางสายเลือดมาก เพราะเลือดทั้งฝ่ายพ่อและแม่มารวมกันอีกครั้งในรุ่นนี้
ดังนั้นการ Out breed ในรูปแบบนี้ไม่ควรทำ

จากเนื้อหาในตอนนี้คิดว่าน่าจะพอจับใจความสำคัญในการเลือกด้วงจากป่าหรือด้วงจากการเพาะเลี้ยงได้ดีขึ้นในระดับหนึ่งนะครับ
ยังมีอีก 2 หัวข้อ ขอยกไปในตอนต่อไปครับ


เลือกด้วงตัวโปรดเข้ามาดูแล ตอนที่2.jpg.jpg


คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|Siambeetle

GMT+7, 2024-3-29 22:40 , Processed in 0.018176 second(s), 13 queries .

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน