Siambeetle forum

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ดู: 15237|ตอบ: 0

จะรู้ได้อย่างไรว่าหนอนด้วงที่เลี้ยงถึงเวลาต้องเปลี่ยนอาหารแล้ว? [คัดลอกลิงก์]

Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25Rank: 25

เวลาออนไลน์
1477 ชั่วโมง
UID
1
เครดิต
8072
ความเทพ
766
ประสบการณ์
4261
ทองคำ
201
โพสต์
1877
กระทู้
197
สมัครสมาชิกเมื่อ
2012-1-16
เข้าสู่ระบบล่าสุด
2017-1-28
โพสต์เมื่อ 2017-1-3 17:35:44 |แสดงโพสต์ทั้งหมด
จะรู้ได้อย่างไรว่าหนอนด้วงที่เลี้ยงถึงเวลาต้องเปลี่ยนอาหารแล้ว?

จะบอกว่านี่เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตสำหรับคนที่จะเริ่มเลี้ยงด้วงทุกคนเลยก็ได้ครับ
เพราะต้องมีสงสัยกันบ้างละว่าหนอนที่เลี้ยงไปนั้นจะทานอาหารในกระปุกหมดเมื่อไร และจะให้อาหารตอนไหน

การเลี้ยงหนอนด้วงนั้นจะเรียกว่าเป็นการเลี้ยงที่เอาใจใส่น้อยที่สุดแล้วก็ว่าได้ เพราะกว่าจะได้เจอหน้ากันครั้งนึงก็กินเวลาไปร่วมๆ 1-2 เดือน
แถมด้วยเวลาเจอหน้าแต่ละครั้งก็จะได้สัมผัสลูบๆเล่นแค่ช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้นอีกด้วย สาเหตุเพราะถ้าจับหนอนเล่นมากก็อาจจะทำให้น้ำหนักลด หนอนเครียด ทานอาหารน้อย หรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็มี
แต่ไม่ต้องตกใจถึงขนาดนั้น เพราะโอกาสจะเสียชีวิตได้นั้นหนอนต้องถูกจับบีบกันแบบค่อนข้างทารุนเลยละ
ดังนั้นเวลาเปลี่ยนอาหารแค่หยิบขึ้นมาตามปกติก็ไม่เป็นปัญหาครับ สามารถจับไปชั่งน้ำหนัก วัดขนาดหัวกะโหลกได้ตามปกติ จะถ่ายรูป จดบันทึกชื่นชมอะไรก็ให้รีบทำในช่วงเปลี่ยนอาหาร เพราะหลังจากที่ปล่อยกลับเข้าไปในกระปุกก็ไม่ควรนำขึ้นมาหยิบเล่นแล้ว ปล่อยให้หนอนได้ทานอาหารอย่างมีความสุขเพื่อให้ได้ตัวด้วงที่มีขนาดสวยสมใจอยาก

การเลี้ยงหนอนด้วงผมขอแยกออกเป็นสองแบบ
1.เลี้ยงในเชื้อเห็ด
2.เลี้ยงในแมท (แบบทีสองนี้จะแยกออกเป็นด้วงกว่างและด้วงคีมครับ เพื่อให้เข้าใจง่าย)

แบบที่หนึ่ง การเลี้ยงหนอนในเชื้อเห็ด
แบบนี้ค่อนข้างจะดูง่ายที่สุด เพราะเชื้อเห็ดสีขาวๆที่หนอนทานนั้นถ้ายังมีเต็มอยู่ก็ถือว่าหนอนยังมีอาหารทานอยู่
แต่ถ้าลดหายไปและกลายเป็นสีน้ำตาลมากกว่า 70-80%เมื่อไร แปลว่าให้เตรียมตัวที่จะเปลี่ยนอาหารได้ ซึ่งนั้นเป็นเพราะว่าอาหารสำหรับตัวอ่อนด้วงคีมถูกทานไปจนใกล้จะหมดแล้วนั่นเอง
บางครั้งเชื้อเห็ดสีขาวยังมีอยู่เต็มรอบกระปุกเลยก็เป็นไปได้ครับ แต่หนอนอาจจะทานอยู่แต่ภายในกระปุกทำให้ไม่ทราบว่าอาหารสีขาวๆนั้นหมดหรือยัง ซึ่งก็มีโอกาสที่จะเจอเหตุการณ์แบบนี้เหมือนกัน
ถ้าเวลาผ่านไปนานหลายสัปดาห์แล้วเจอแบบนี้ก็ให้ใจเย็นๆครับ บางครั้งหนอนอาจจะยังมีอาหารทานอยู่ภายใน หรือว่าอาจจะเริ่มทานน้อยลงแล้วก็ได้ ถ้าด้านในอาหารหมดเมื่อไหร่ หนอนก็จะเริ่มออกมาทานบริเวณรอบๆกระปุกแน่นอน





แบบที่สอง
สำหรับการเลี้ยงหนอนในแมทมีสองประเภทคือด้วงกว่างและด้วงคีมครับ
ด้วงกว่าง
สำหรับแบบนี้ยังพอดูง่ายอยู่ เพราะด้วงกว่าง(รวมถึงด้วงดอกไม้) จะย่อยอาหารจนหมดและจะเห็นเป็นก้อนอึกลมๆคล้ายเมล็ดถั่วแทน เพราะด้วงสองกลุ่มนี้จัดว่าเป็นผู้ย่อยสลายที่ดีเลยทีเดียวครับ เป็นหนึ่งในผู้ที่ย่อยสลายซากไม้ผุต่างๆให้กลายเป็นดินดำซึ่งเป็นอาหารให้กับต้นไม้ในป่าต่อไป ดังนั้นแมทต่างๆที่ใส่เข้าไปนั้น หนอนด้วงกว่างจะเขมือบเรียบ
วิธีสังเกตว่าได้เวลาเปลี่ยนแล้วมีสองแบบง่ายๆคือ
1.นับเวลา ซึ่งส่วนมากแล้วจะกินเวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ถ้าเลี้ยงในภาชนะขนาดที่เหมาะสม
เช่น หนอนกว่างญี่ปุ่น ระยะ 3 ควรเลี้ยงในภาชนะขนาด 1500-2000cc ถึงจะสามารถทานอยู่ในกระปุกได้ 6-8สัปดาห์ ถ้าใช้ภาชนะเล็กกว่านั้นก็จะทำให้ระยะเวลาที่ทานอยู่ในนั้นสั้นลง หรืออาหารหมดเร็วขึ้นนั่นเอง
หรือด้วงกว่างเฮอร์คิวลิสระยะ3 ควรเลี้ยงในภาชนะขนาด 2000-3000cc ถึงจะเพียงพอทานประมาณ 6-8 สัปดาห์ (แต่เลี้ยงในภาชนะใหญ่กว่านี้ก็ได้ เพื่อลุ้นขนาดให้ใหญ่มากขึ้น)
2.สังเกตปริมาณอึ ถ้าระดับความชื้นในกระปุกเลี้ยงอยู่ในระดับที่พอดี อึของหนอนจะเกาะตัวและแห้งเป็นก้อน พอปริมาณอึบริเวณที่หนอนอาศัยอยู่เริ่มมีจำนานมากขึ้นจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างก้อนอึ และในขณะที่หนอนขยับตัวจะทำให้แมทซึ่งมีขนาดเล็กกว่าแทรกตัวลงไปด้านล่างและดันให้อึลอยขึ้นมาอยู่ด้านบนแทน ด้วยกระบวนการนี้ทำให้เราใช้วิธีการสังเกตปริมาณอึเพื่อเตรียมตัวเปลี่ยนอาหารได้ ถ้ามีอึลอยขึ้นมากองอยู่ด้านบนจนเต็มเมื่อไรก็แปลว่าจะได้เวลาเปลี่ยนอาหารแล้วนั่นเอง




***สามารถใช้วิธีการข้อ 1 และ ข้อ 2 ร่วมกันช่วยในการสังเกตขนาดบรรจุได้ครับว่าเล็กเกินไปหรือเปล่า

ด้วงคีม
เลี้ยงด้วงคีมในแมทจะดูค่อนข้างยากหน่อย เพราะตัวอ่อนด้วงคีมยังไม่ใช่จอมเขมือบแบบตัวอ่อนด้วงกว่างและด้วงดอกไม้ เพราะฉะนั้นจะยังคงมีปริมาณแมทหลงเหลืออยู่ในกระปุกเป็นจำนวนมาก ในขณะที่แมทเหล่านั้นอาจจะเสื่อมคุณภาพ หรือไม่สามารถให้ตัวอ่อนด้วงคีมทานได้แล้ว อึของตัวอ่อนด้วงคีมจะเป็นก้อนแบบเดียวกับด้วงกว่าง แต่สีจะกลมกลืนไปกับสีของแมท อาจจะทำให้สังเกตได้ยาก หรือบางทีอาจจะมองไม่เห็นเลย
ให้ใช้วิธีการนับระยะในการเปลี่ยนอาหาร นิยมใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ในการเปลี่ยนอาหารหนึ่งครั้ง เพราะแมทหลังจากถูกความชื้นและปิดเก็บเอาไว้ในกระปุกจะเกิดกระบวนการย่อยสลายของเนื้อไม้ตามธรรมชาติ อาจจะกินระยะเวลานานประมาณ 2-3 เดือน ก่อนที่เนื้อไม้จะสลายตัวลงเกือบจะกลายเป็นดิน ซึ่งสังเกตได้จากสีที่เข้มขึ้นและคุณภาพความเปื่อยยุ่ยของเนื้อไม้เอง หากทิ้งนานเกินไปกว่านี้ตัวอ่อนของด้วงจะไม่สามารถทานได้ หรือจะได้รับอาหารที่ไม่มีคุณภาพแทน
วิธีการสังเกตอาหารหนอนด้วงคีม
1.แมทเปื่อยมาก ถ้าหยิบแมทขึ้นมาแล้วบีบ จะพบว่าแมทเปื่อยและเละมากซึ่งนั่นแปลว่าไม่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงหนอนด้วงคีมแล้ว ในขณะที่แมทที่ยังทานได้จะมีสภาพเป็นเนื้อไม้อยู่
2.สีเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีดำ แปลว่าพ้นระยะที่หนอนด้วงคีมจะทานแล้ว แมทสีดำเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงหนอนด้วงกว่างครับ นำไปทำความสะอาด ฆ่าแมลงเล็กๆแล้วเปลี่ยนให้หนอนด้วงกว่างทานได้เลย

ทีนี้ลองไปเปิดกระปุกหนอนที่เลี้ยงและลองสังเกตดูครับ
บางครั้งกระปุกหนอนที่เลี้ยงอยู่นั้นอาจจะต้องถึงเวลาเปลี่ยนอาหารแล้วก็ได้


004.jpg
003.jpg
002.jpg
01.jpg
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|Siambeetle

GMT+7, 2024-4-18 14:03 , Processed in 0.012455 second(s), 13 queries .

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน