Siambeetle forum

ชื่อกระทู้: Dorcus antaeus ด้วงคีมกระทิงดำ [สั่งพิมพ์]

โดย: admin    เวลา: 2012-6-7 22:35:29     ชื่อกระทู้: Dorcus antaeus ด้วงคีมกระทิงดำ

Dorcus antaeus
ด้วงคีมกระทิงดำ


doan.jpg

ถิ่นกำเนิด :: ด้วงคีมกระทิงดำไม่มีสายพันธุ์ย่อย แต่ว่าถิ่นกำเนิดแต่ละโซนนั้นทำให้ฟอร์มของคีมและทรงคีมต่างกันออกไป
ปัจจุบันมีทรงคีม 5 ประเภทที่ได้รัยความนิยม

ขนาดใหญ่สุด :: ประมาณ 95 มม.
ระดับความหายาก :: หายาก
ระดับความยากในการเลี้ยง :: ระดับที่ 3

จุดเด่น ::

ขนาดตู้เลี้ยงสำหรับตัวเต็มวัย :: ตู้เลี้ยงขนาดกลาง
ขนาดกระปุกสำหรับตัวอ่อน :: กระปุก 800-3000 มล.

ไม้ผุ :: ชอบไม้ผุที่มีความนิ่มปานกลาง สามารถใช้เล็บจิกได้ ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ทั้งด้านในขอนไม้ และบริเวณโดยรอบผิวขอนไม้
ลักษณะการวางไข่ :: สามารถวางไข่ได้ทั้งในไม้ผุ และในวัสดุรองพื้น
ตัวเมียสามารถกัดไม้เป็นโพรงเพื่อมุดเข้าไปในท่อนไม้และทำรังวางไข่ด้านในได้ บางครั้งกัดรอบๆผิวไม้เพื่อวางไข่ การใส่ไม้ผุควรกลบทับด้วย เพราะตัวเมียชอบขุดเจาะลงไปด้านในรวมไปถึงบริเวณโดยรอบขอนไม้
หากต้องการให้วางไข่ในวัสดุรองพื้น ควรหมักบ่มทิ้งไว้ซักระยะให้วัสดุรองพื้นนิ่มเละ ตัวเมียมักจะวางไข่ที่ข้างตู้จนสามารถมองเห็นได้จากภายนอก

อุณหภูมิ ::

กระทิงดำอินเดียและภูฏานต้องการอุณหภูมิต่ำกว่ากระทิงดำอื่นประมาณ 3 องศา

ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย :: 40-60 ฟอง
อายุตัวเต็มวัย ::

อายุตัวอ่อน ::

อาหารตัวอ่อน

Siambeetle Tip
ด้วงคีมกระทิงดำได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงมานาน และจัดเป็นด้วงกลุ่มแรกๆที่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่น เพราะประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆที่ส่งด้วงคีมกระทิงดำออกไปที่ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในด้วงคีมที่นักเพาะด้วงส่วนใหญ่จะต้องเลี้ยงให้ได้ เพราะการเพาะให้ออกมาได้ขนาด 80มม. ขึ้นไปนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะนอกจากต้องคอยดูแลเรื่องของอาหารตัวอ่อนแล้วนั้น ยังต้องควบคุมเรื่องอุณหภูมิเป็นอย่างดีอีกด้วย
ตัวจับจากธรรมชาติในประเทศไทยปัจจุบันนั้นขนาด 80มม. หาได้ยากมากแล้ว ในขณะที่ตัวเพาะนั้นสามารถทำได้ถึง 85มม.
สถิติตัวเพาะกระทิงดำอินเดียปัจจุบันอยู่ที่ 95มม. เป็นขนาดที่ใหญ่กว่าตัวจับจากธรรมชาติไปแล้ว ซึ่งตัวอ่อนใช้เวลาเลี้ยงนานถึง 28 เดือนในห้องควบคุมอุณหภูมิตลอด 24 ชม. ที่ 16 องศา
การเลี้ยงในประเทศไทยนั้นอย่างน้อยควรจะต้องคุมอุณหภูมิให้ได้ที่ 24-25 องศา เพื่อมีโอกาสลุ้นให้เพาะได้ขนาด 70 มม.
ตัวอ่อนนั้นทานวัสดุรองพื้นเป็นอาหารได้หรือทานเชื้อเห็ดนางฟ้าก็ได้เช่นกัน ภายในระยะเวลา 3-4 เดือน ตัวอ่อนสามารถพัฒนาให้มีน้ำหนักได้ถึง 20 กรัม หากต้องการเลี้ยงกระทิงดำให้ได้ขนาด 80มม.ขึ้นไป ต้องทำน้ำหนักให้ได้ 45 กรัม
ตัวเมียชอบวางไข่ในไม้ผุมากกว่าในวัสดุรองพื้น ควรใส่ขอนไม้ในตู้เพาะเลี้ยงอย่างน้อย 2-3 ขอนและกลบทับจนมิดหรือมีโผล่ขึ้นมาบางส่วนประมาณ 1 ใน 5
หากสามารถเพาะด้วงคีมกระทิงดำได้ จะสามารถเพาะด้วงคีมกระทิงเล็กได้เช่นกัน (Dorcus gracilicornis)

เพาะเลี้ยงได้โดย ::



รูปภาพที่แนบมา: doan.jpg (2012-6-7 22:08:17, 27.66 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 734
http://siambeetle.com/bbs/forum.php?mod=attachment&aid=MTAyNXxlZjg3ODVmZnwxNzE0ODQ1MTUwfDB8MA%3D%3D


โดย: France    เวลา: 2012-6-7 23:16:21

ขอบคุณมากครับพี่บิน
โดย: odontola    เวลา: 2012-6-8 07:13:04

ขาประจำมาแล้วครับ ชอบมากครับช่วง Siambeetle Tip มีทั้งสาระความรู้และเกล็ดเล็กเกล็ดน้อย  เช้านี้ดูดีอีกแล้วอ่านแล้วทำให้รู้สืกว่าตัวเองฉลาดขึ้นทุกวัน  ขอบคุณครับ
โดย: pun0007za    เวลา: 2012-6-8 08:07:52

ร๊ากกก Siambeetle  เจ๋งสุดยอดเลยครับ รอAllotopus&Mesotopusนะครับ อิอิ
โดย: admin    เวลา: 2012-6-8 09:49:29

กำลังทยอยเพิ่มเข้าไปเรื่อยๆ นะครับ
รวมข้อมูลพื้นฐานด้วงแต่ละชนิด รวมทั้งเทคนิค วิธีการเลี้ยง
ในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน น่าจะสามารถทำdatabase ได้สำเร็จเป็นแหล่งอ้างอิงบนอินเตอร์เน็ทของไทยได้
โดย: leobeetle    เวลา: 2012-6-8 21:05:47

สุดยอดมากครับ พี่บิน

ได้ความรู้และเคล็ดลับไปเต็มๆ 55
โดย: tlefatny    เวลา: 2012-10-6 07:10:13

ถ้าจะเลี้ยงหนอนด้วง ควรเตรียมอะไร บ้าง ครับ
โดย: mic    เวลา: 2012-10-25 19:07:31

อยากให้พี่บินทำเรื่องด้วงกว่างด้วยอ่ะค้าบ ^___^ แต่ถ้าไม่ว่างก็ไม่เป็นไรค้าบ




ยินดีต้อนรับสู่ Siambeetle forum (http://siambeetle.com/bbs/) Powered by Discuz! X2